วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ผักรสขม เพื่อสุขภาพ

"ผักรสขม" สมุนไพรสรรพคุณและประโยชน์เพื่อสุขภาพอีกหนึ่งเกร็ดดีๆ ที่หลายๆ คนควรให้ความสนใจกับผักรสขม เขาว่ากันว่า หวามเป็นลมขมเป็นยา คำโบราณที่เชื่อว่าทุกๆ คนคงต้องเคยได้ยินอย่างแน่นอน ถึงแม้จะรู้ว่าขมเป็นยาแต่พืชผักสมุนไพรที่มีรสขมทุกชนิดคนรุ่นใหม่มักจะร้องยี้และแทบอ้วกกันเป็นแถวๆ แถมยังมีบางคนที่บอกว่าผักสมุนไพรเป็นอาหารของคนแก่ จะมีสักกี่คนค่ะที่รู้ว่าพืช ผักรสขม สมุนไพรเหล่านี้ มีสรรพคุณทางยาที่สามารถช่วยรักษาโรคบางชนิดได้ด้วย และโดยเฉพาะ ผักรสขม ที่หลายๆ คนร้องยี้นี้แหละค่ะที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก ถ้าเอ่ยถึง ผักรสขม หลายๆ คนก็คงจะนึกถึง สะเดา ขี้เหล็ก มะระ ใบยอ ฯลฯ แต่เชื่อไหมค่ะว่า ผักรสขม สามารถนำมาทำเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อได้ด้วยน๊า... งั้นวันนี้เราก็เข้าไปรู้จักกับประโยชน์ของผักรสขมและสรรพคุณของผักรสขมกันเลยดีกว่านะค่ะ ถ้าเห็นประโยชน์ของผักรสขมและสรรพคุณของผักรสขมแล้วก็อย่างลืมจัดไว้ในมื้ออาหารของคุณด้วยนะค่ะ ยังงัยก็เพื่อการมีสุขภาพที่ดีของคุณค่ะ


4 ผักรสขม สรรพคุณและประโยชน์มากล้น

1. สะเดา

ใครจะรู้ว่าทุกส่วนของสะเดามีคุณสมบัติเป็นยาได้ทั้งสิ้น คนโบราณเชื่อว่า "กินสะเดาก่อนเป็นไข้ช่วยป้องกันไข้ได้ กินสะเดาเมื่อเป็นไข้แล้วรักษาให้หายไข้ได้" ก็ไม่ผิดเพราะผักรสขมอย่างสะเดามีประโยชน์ช่วยบำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาระบาย ช่วยให้นอนหลับดี และช่วยรักษาอาการไข้ เรานิยมนำยอดและดอกมาทำอาหาร ซึ่งให้คุณค่าทางโภชนาการเช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เส้นใย เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี และไนอาซิน สำหรับเมนูยอดฮิตของสะเดาก็นี่เลยสะเดาน้ำปลาหวานทานกับปลาดุกย่างอร่อยจนลืมขมไปเลยค่ะ

2. ขี้เหล็ก

ดอกตูมและใบอ่อนของขี้เหล็กมีรสขม ขี้เหล็กถือเป็นยานอนหลับชั้นยอด ช่วยระบายท้องได้ดี บำรุงร่างกาย แก้ระดูขาว แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ช่วยลดความดันโลหิต และรักษากามโรค มีสารอาหาร เช่น วิตามินเอและซีค่อนข้างสูง มีเส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี 1 และไนอาซิน ยอดขี้เหล็กมีสารช่วยคลายเครียดทำให้นอนหลับสบาย เมนูขี้เหล็กที่นิยมมีทั้งดอกตูมและใบอ่อน เช่น แกงคั่วใส่กะทิ หรือกินเป็นผักจิ้มน้ำพริก แกงขี้เหล็กจะอร่อยก็ต้องมีกะทิใส่ปลาย่างหรือหมูสับ กะทิในแกงขี้เหล็กไม่ได้ใส่เพื่อเพิ่มความอร่อยอย่างเดียว แต่มีส่วนในการดึงสารเบต้าแคโรทีนในขี้เหล็กออกมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น